วันพฤหัสบดีที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

แหล่งท่องเที่ยวเมืองมะริด กับ sunitjo travel สระน้ำมะริด เปตองซา ยี่แก่น Myejk pe-tong-sa yeekean สระน้ำศักดิสิทธ์ อายุ 642-700 ปี คศ.1373 กลางเมืองมะริด Myeik ,yanmar

แหล่งท่องเที่ยวเมืองมะริด กับ sunitjo travel สระน้ำมะริด เปตองซา ยี่แก่น Myejk pe-tong-sa yeekean สระน้ำศักดิสิทธ์ อายุ 642-700 ปี คศ.1373 กลางเมืองมะริด Myeik ,yanmar

ที่นี่..จะมีพระสงค์ ที่ชาวมะริด และชาวพม่านับถือมาก ที่เห็นอยู่กลางสระน้ำ คือ พระเซี๊ยะอุกะเบ้า
หรือ พระอุ้มบาท ลอยน้ำ ใครที่เคารพและเชื่อถือท่าน แล้ว จะแคล้วคลาดเรื่องการจมน้ำ เดินทางทางน้ำ ทางทะเล จะไม่จมน้ำตาย แน่นอนครับ
สระน้ำแห่งนี้มีความเก่าแก่ กว่า 700 ปี คู่บ้านคู่เมือง มะริด หรือเมือง เบ้ มาช้านานมากแล้ว ปัจจุบันใช้เป็นแหล่งท่องเที่ยว พักผ่อนหย่อนใจ เป็นที่ตากอากาศ ขี่เรือปั่น เรือถีบ ให้อาหารปลา ชมสระบัว ดอกบัวบาน สีขาว สีชมพู จุดถ่ายรูปสวยยามเย็น พระอาทิตย์ตกดินที่เมืองมะริด สวยงดงามมาก
เรื่องโดย..sunitjo travel เที่ยวเมืองมะริด แบบมืออาชีพ โทร 098-0641749 
081-0068001 / 085-292186




























ท่องเที่ยวมะริด จองทัวร์มะริด ประเทศพม่า ไหว้พระ เมืองมะริด อิ่มใจได้บุญ วัดพระพุทธไสยาสน์อตูละ ชเวทัลเยือง (Atula Shwethalyaung)แห่งเมืองมะริด โทร 098-0641749


วัดพระพุทธไสยาสน์อตูละ ชเวทัลเยือง (Atula Shwethalyaung)แห่งเมืองมะริด: วัดพระนอนแห่งนี้ตั้งอยู่บนเกาะปาเตท (Pa Htet) ใกล้กับเกาะปาถ่อง (Pa Htaw) การเดินทางไปวัดพระนอนจะต้องนั่งเรือข้ามไปอีกฝั่งหนึ่งซึ่งมีเรือหลายลำจอดเรียกผู้โดยสารอยู่ตรงท่าเรือบนถนนเลียมชายหาด (Strand Road) วัดพระนอนแห่งนี้มีความยาว 144 ศอก ถือว่าเล็กกว่าวัดพระนอนที่เมืองทวายซึ่งมีความยาวประมาณ 162 ศอก วัดพระนอนที่ใหญ่ที่สุดในพม่าตอนนี้อยู่ทีเมืองมูเดิง (Mudon) ใกล้กับเมืองเมาะละแหม่ง มีชื่อว่าวัดพระนอนวิน เส่ง ตอว์ยะ (Win Sein Taw Ya) และอันดับสองคือวัดพระนอนชเวตาเลียว (Shwe Thal Lyaung) ที่เมืองพะโค (หงสาวดี) วัดพระนอนที่เมืองมะริดสร้างขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2498 ภายในองค์พระแบ่งเป็นห้องๆ แสดงพุทธประวัติและคำสอนของพระพุทธเจ้า วัดพระนอนแห่งนี้ยามค่ำคืนจะงดงามไปด้วยแสงไฟที่ประดับประดาไว้รอบพระพุทธรูปและมีพุทธศาสนิกชนชาวพม่าทุกเพศทุกวัยมาสักการะและท่องเที่ยวพักผ่อนกันทุกวัน
พระพุทธปฏิมาไสยาสน์ที่สร้างขึ้นในเขตวงราชธานี ยังส่งอิทธิพลให้กับพระพุทธไสยาสน์ ซึ่งสร้างขึ้นทั่วอาณาจักรอยุธยา และแพร่หลายไปจนถึงหัวเมืองชายขอบอย่างเช่นที่เมืองมะริด (Myeik) วัดเถนดอคยี พญา (Theindawgyi Paya) ประเทศพม่า  ซึ่งถึงแม้ว่าจะได้รับการตกแต่ง ขึ้นใหม่ เช่นที่ขอบไรพระศก และลวดลายที่พระเขนย แต่พุทธลักษณะส่วนใหญ่ยังคงรักษารูปแบบเดิมไว้











พระสมณโคดม ปางไสยาสน์ พุทธศตวรรษที่ ๒๓ (กลางคริสต์ศตวรรษที่ 17 – กลาง18) ก่ออิฐถือปูน Theindawgyi Paya, มะริด (Myeik), จังหวัดตะนาวศรี (Tanintharyi Division) ประเทศพม่า

พระพุทธปฏิมาไสยาสน์ที่สร้างขึ้นในเขตวงราชธานี ยังส่งอิทธิพลให้กับพระพุทธไสยาสน์ ซึ่งสร้างขึ้นทั่วอาณาจักรอยุธยา และ
แพร่หลายไปจนถึงหัวเมืองชายขอบอย่างเช่นที่เมืองมะริด (Myeik) วัดเถนดอคยี พญา (Theindawgyi Paya) ประเทศพม่า (รูปที่ ๑๐.๘) ซึ่งถึงแม้ว่าจะได้รับการตกแต่ง ขึ้นใหม่ เช่นที่ขอบไรพระศก และลวดลายที่พระเขนย แต่พุทธลักษณะส่วนใหญ่ยังคงรักษารูปแบบเดิมไว้



























วันเสาร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

sunitjo travel land myeik myanmar เที่ยวมะริด ทวาย ไปกับเรา 098-0641749

ความเป็นมาของเมืองทวาย-มะริด-ตะนาวศรี
ในหลักศิลาจารึกมีบันทึกว่า ดินแดนของอาณาจักรไทยทางฝั่งตะวันตกในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ได้แผ่ขยายไปจนถึงหงสาวดีจดอ่าวเบงกอล และในบันทึกของมิชชันนารีที่เข้ามาติดต่อกับไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา ก็ได้บันทึกชื่อของเมืองทวายและตะนาวศรีว่าเป็นเมืองในอาณาจักรสยาม ตามปรากฏในพงศาวดาร
ในด้านประวัติศาสตร์ตะนาวศรีปรากฏตัวและมีฐานะเป็นรัฐอิสระก่อนการเกิดอาณาจักรพะโค เมาะตะมะ อังวะ สุโขทัย และอยุธยา เอกสารประวัติศาสตร์หลายชิ้นระบุว่า ตะนาวศรีเป็นเมืองที่ก่อตั้งโดยกลุ่มคนสยาม[1] ชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าสยามสมัยอยุธยาระบุว่า มะริดและตะนาวศรีเป็นสมบัติของกษัตริย์สยาม[2] สยามสมัยพระนารายณ์มหาราชมีอาณาเขตแผ่ถึงปัตตานี ลาว ภูเขียว เขมร อังวะ พะโค และมะละกา มีเมืองท่าสำคัญคือมะริด และภูเก็ต และมีจังหวัดสำคัญคือ พิษณุโลก ตะนาวศรี กรุงเทพฯ และเพชรบุรี[3][4][5] เอกสารบางชิ้นระบุการดำรงอยู่ของชาวสยามในมณฑลตะนาวศรี อาทิคณะราชทูตจากเปอร์เซียที่กล่าวว่า เมื่อปี พ.ศ. 2228 "ตะนาวศรีเป็นเมืองอุดมสมบูรณ์มีพลเมืองที่เป็นคนสยามประมาณ 5-6 พันครัว
ในอดีตที่ผ่านมา เช่นในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช หรือสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เมืองมะริด และตะนาวศรี ถือเป็นเมืองที่มีความสำคัญมากของไทย เนื่องจากเป็นเมืองที่พ่อค้าต่างประเทศทางอินเดีย และยุโรปนำสินค้าจากทางเรือขึ้นมาค้าขายในเมืองไทย ถึงกับมีการแต่งตั้งเจ้าเมืองที่มีความรู้ความสามารถให้ปกครองดูแล และด้วยความสำคัญทางยุทธศาสตร์เช่นนี้ ในอดีตไทยกับพม่าจึงมักมีศึกชิงเมืองมะริด ตะนาวศรี กันบ่อยครั้ง
ตลอดช่วงประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา ไทยและพม่า ได้ผลัดกันเข้าครอบครองดินแดนทั้ง 3 นี้ แม้บางช่วงจะอยู่ในฐานะหัวเมืองที่ไม่ขึ้นกับใครโดยตรง เช่นในปีพ.ศ. 1883 ที่พระยาเลอไทย ราชโอรสของพระเจ้ารามคำแหงได้ขึ้นครองราชย์สมบัติแทน หัวเมืองมอญได้ประกาศอิสรภาพไม่ขึ้นกับไทย และได้มาตีเอาเมืองทะวายและตะนาวศรีจากไทยไปได้
กรมพระยาดำรงราชานุภาพ บิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย เคยได้ให้ทัศนะว่า เมืองตะนาวศรี และเมืองทวายเป็นเมืองขึ้นของไยมาแต่ครั้งกรุงสุโขทัย พม่าชิงเอาไปสมัยพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองได้กรุงศรีอยุธยา เมืองทวายมีไพร่บ้านพลเมืองเป็นทวาย เมืองตะนาวศรีมีไพร่บ้านพลเมืองมีทั้งพวกเม็งหรือมอญและไทยปะปนกัน ผู้คนเมืองมะริดมีญาติพี่น้องอยู่ในกรุงศรีอยุธยา
หรือในยุคสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย เมื่อปี พ.ศ. 2302 สมัยพระเจ้าเอกทัศ พระเจ้าอลองพญากษัตริย์พม่าได้ยกกองทัพมาตีเมืองทวายซึ่งขณะนั้นแข็งเมืองอยู่ และได้ยกพลตามมาตีเมืองมะริดและตะนาวศรีของไทยไปได้ด้วย หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2330 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้พยายามยกทัพไปตีเมืองทวายคืนจากพม่า แม้จะไม่สำเร็จ แต่ในอีก 4 ปีต่อมา คือ พ.ศ. 2334 เมืองทะวาย ตะนาวศรี และมะริด ก็มาสวามิภักดิ์ขอขึ้นกับไทย
ในปี พ.ศ. 2366 ปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย อังกฤษเริ่มเข้ายึดหัวเมืองชายฝั่งทะเลของพม่า รวมทั้งตะนาวศรี มะริด และทวาย ซึ่งเป็นเมืองหลวงของภาคตะนาวศรี พร้อมทั้งได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าสำรวจทำแผนที่ เพื่อจะได้รู้จักสภาพภูมิประเทศ ทรัพยากร และขอบเขตของเมืองที่ตนยึดได้ เมื่อมาถึงทิวเขาตะนาวศรีจึงได้ทราบว่าฝั่งตะวันออกของทิวเขาตะนาวศรีเป็นอาณาเขตของประเทศไทย
ภายหลังในปี พ.ศ. 2408 จึงได้ส่งข้าหลวงใหญ่อังกฤษประจำอินเดียมาติดต่อกับรัฐบาลไทยเพื่อขอให้มีการปักปันเขตแดนระหว่างไทยกับพม่าของอังกฤษเป็นการถาวร ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
การปักปันเขตแดนไทย-พม่าอย่างเป็นทางการครั้งแรกของไทย ในการให้สัตยาบันครั้งนี้ถือเป็นการยอมรับอย่างเป็นทางการตามข้อตกลงระหว่างประเทศ ว่าเมืองมะริด ทะวาย และตะนาวศรี เป็นดินแดนของประเทศพม่าที่อยู่ในบังคับของอังกฤษ นับตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2411 เป็นต้นมา
ในช่วงปี พ.ศ. 2408 – 2410 มีการตั้งคณะข้าหลวงปักปันเขตแดน เพื่อดำเนินการร่วมสำรวจและชี้แนวเขตแดนของตนตั้งแต่จังหวัดแม่ฮ่องสอน จนถึงจังหวัดระนอง โดยฝ่ายไทยได้แต่งตั้งเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ สมุหกลาโหม ผู้บังคับหัวเมืองฝ่ายใต้เฉียงตะวันตก เป็นข้าหลวงมีอำนาจเต็ม รับผิดชอบตั้งแต่เขตจังหวัดกาญจนบุรี ถึงจังหวัดระนอง ส่วนอังกฤษได้ตั้ง Lieutenant Arthur Herbert Bagge เป็นข้าหลวงมีอำนาจเต็ม
เมื่อการสำรวจทำแผนที่ และทำบัญชีรายละเอียดเกี่ยวกับที่หมายเขตแดนเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงได้มีการประชุมจัดทำอนุสัญญา (Convention) ขึ้นที่กรุงเทพฯ ในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2411 และได้มีการให้สัตยาบันกัน ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2411 ภายหลังจากฝ่ายไทยได้ตรวจสอบเห็นว่าแผนที่ The Map of Tenasserim and the adjacent provinces of the Kingdom of Siam ที่อังกฤษจัดทำขึ้นใหม่นั้นถูกต้องแล้ว นับแต่นั้นแนวพรมแดนระหว่างไทยพม่าตั้งแต่สบเมยถึงปากแม่น้ำกระบุรี จึงได้เปลี่ยนจากเส้นเขตแดนที่ยอมรับโดยพฤตินัย มาเป็นเส้นเขตแดนที่กำหนดขึ้นโดยอนุสัญญา บัญชีที่หมายเขตแดนแนบท้ายอนุสัญญา และแผนที่แนบท้ายอนุสัญญา
ในอนุสัญญา ได้ระบุเส้นเขตแดนตรงแม่น้ำกระบุรีว่า “..ตั้งแต่เขาถ้ำแดงตามเขาแดนใหญ่มาจนถึงปลายน้ำกระใน เป็นเขตแดนจนถึงปากน้ำปากจั่น ลำแม่น้ำเป็นกลาง เขตแดนฝ่ายละฟาก เกาะในแม่น้ำปากจั่นริมฝั่งข้างอังกฤษเป็นของอังกฤษ ริมฝั่งข้างไทยเป็นของไทย เกาะขวางหน้ามลิวันเป็นของไทย แม่น้ำปากจั่นฝั่งตะวันตกเป็นของอังกฤษ ตลอดจนถึงปลายแหลมวิคตอเรีย ฝั่งตะวันออกตลอดไปเป็นของไทยทั้งสิ้น...”
สรุปว่า ในครั้งนั้นกำหนดให้แม่น้ำเป็นกลาง ให้ฝั่งเป็นเขตแดน ฝั่งด้านตะวันตกเป็นของพม่า ฝั่งด้านตะวันออกเป็นของไทย สำหรับเกาะในแม่น้ำถ้าชิดฝั่งตะวันตกก็ให้เป็นของอังกฤษ ถ้าชิดฝั่งตะวันออกก็ให้เป็นของไทย สำหรับเกาะขวางให้เป็นของไทย
กล่าวได้ว่า ในการให้สัตยาบันครั้งนี้ถือเป็นการยอมรับอย่างเป็นทางการตามข้อตกลงระหว่างประเทศ ว่าเมืองมะริด ทวาย และตะนาวศรี เป็นดินแดนของประเทศพม่าที่อยู่ในบังคับของอังกฤษ นับตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2411 เป็นต้นมา
เซอร์เจมส์ สก๊อตต์ ระบุว่า ประชากรสยามในมณฑลตะนาวศรีภายใต้จักรวรรดิอังกฤษมีประมาณ 19,631 คน คนสยามอาศัยอยู่ในอำเภอทวาย อัมเฮิสต์ และมะริด[8] กลุ่มคนสยามอาศัยอยู่ในเขตตะนาวศรีในช่วงั้นตะนาวศรีมีฐานะเป็นมณฑล ประชากรปี พ.ศ. 2444 มีประมาณ 1,159,558 คน ประกอบด้วยคนพม่า กะเหรี่ยง มอญ ฉาน จีน และสยาม คนสยามอาศัยอยู่บริเวณพรมแดนทางตอนใต้ของพม่า โดยเฉพาะอำเภอมะริด อัมเฮิสต์ และทวาย[9] มะริดอยู่ใต้สุดของพม่า ในปี พ.ศ. 2444 มะริดมีประชากรประมาณ 88,744 คน ในจำนวนนี้มีคนสยามอาศัยอยู่ในตัวเมืองมะริดประมาณ 9,000 คน[10] มะริดในตอนต้นศตวรรศที่ 20 แบ่งการปกครองเป็น 5 ตำบล (Township) คือ มะริด ปะลอ (Palaw) ตะนาวศรี ปกเปี้ยน (Bokpyin)[11] และมะลิวัลย์ (Maliwun)[12] ปกเปี้ยนมีประชากร เมื่อปี พ.ศ. 2444 ราว 7,255 คน ร้อยละ 18 พูดภาษาพม่า ร้อยละ 53 พูดภาษาสยาม ร้อยละ 20 พูดภาษามลายู[13] ตำบลมะลิวัลย์มีประชากรประมาณ 7,719 คน ประกอบไปด้วยชาวสยาม ชาวจีน และมลายู และคนพม่าแทบหาไม่พบ[14] ตำบลตะนาวศรีตั้งอยู่ทางตะวันออกสุดของอำเภอมะริด และอยู่ติดแดนสยาม ประชากรปี พ.ศ. 2434 มีประมาณ 8,389 คน เพิ่มขึ้นเป็น 10,712 คน ในปี พ.ศ. 2444 ในจำนวนนี้ร้อยละ 40 พูดภาษาสยาม[15] เมืองสะเทิมอยู่ติดทะเล พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำสาละวิน ครอบคลุมพื้นที่อาณาจักรมอญเดิม ปี พ.ศ. 2444 มีประชากร 343,510 คน ในจำนวนนี้มีชาวสยามประมาณ 10,000 คน[16]
ในหนังสือ Imperial Gazetteer of India ระบุว่าชาวสยามกระจายเป็นคนส่วนน้อยในอำเภออื่นของมณฑลตะนาวศรี เช่นอัมเฮิสต์ และทวาย ในอัมเฮิสต์ (ปัจจุบันคือเมืองไจก์กามี) สยามตั้งอาณานิคมขนาดเล็กของตน[17] ทวายปี พ.ศ. 2444 มีประชากรประมาณ 109,979 คน และเพียง 200 คนเท่านั้นที่แสดงตนเป็นคนสยาม
แม้ปัจจุบันพื้นที่ดังกล่าวจะกลายเป็นพื้นที่ของประเทศพม่าไปแล้วแต่ชาวไทยในเขตตะนาวศรียังมีวิถีชีวิตและวัฒนธรรมเช่นเดียวกันกับคนไทย และรัฐบาลพม่าก็มิได้มีการเข้ามาแทรกแซงในวิถีชีวิตของไทยในพื้นที่ดังกล่าว จนกระทั่งมีการสู้รบกันในประเทศพม่า ทำให้ชาวไทยพลัดถิ่นในตะนาวศรีอพยพกลับมาในฝั่งไทย และได้ร้องขอสัญชาติไทยจากรัฐบาลไทยและรัฐบาลไทยได้ออกบัตรประจำตัวผู้พลัดถิ่นให้ถือระหว่างที่รอขอสถานะการเป็นคนไทย อย่างไรก็ตามยังมีคนไทยพลัดถิ่นจำนวนไม่น้อยที่ตกสำรวจทำให้ไม่มีบัตรประจำตัวผู้พลัดถิ่นดังกล่าว วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2546 นายประเสริฐ อินทรจักร คนไทยพลัดถิ่นได้ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่จับกุม และตั้งข้อหาความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 และต่อมาวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2548 ศาลจังหวัดระนองได้มีคำพิพากษาว่าคนไทยพลัดถิ่นถือว่าเป็นคนเชื้อชาติไทยแต่ไม่มีสัญชาติไทย สามารถได้รับการผ่อนผันให้อยู่ในราชอาณาจักรไทยได้ ซึ่งศาลได้มองว่าคนเชื้อชาติไทยย่อมจะมีสิทธิอาศัยอยู่ในประเทศไทย แม้ในช่วงที่ยังไม่ได้รับสัญชาติไทย

หากพูดถึงส่วนแคบที่สุดในสยามก็คงจะเป็นส่วนของคอขวานที่ด่านสิงขร ตำบลคลองวาฬ อำเภอเมืองจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งมีความยาวตามเส้นรุ้ง ( Latitude ) จากฝั่งทะเลอ่าวไทย จนไปถึงด่านสิงขร แค่ ๑๘ กิโลเมตรเท่านั้นเอง จริงๆแล้วด่านสิงขรเป็นแค่จุดผ่อนปรน ( Pass ) ไม่ใช่ด่าน ( Border ) อย่างเช่นระนองกับเกาะสองทางใต้สุดของประเทศพม่า ขึ้นมาถึงด่านเจดีย์สามองค์ อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี กับเมืองพยาตองซู  ขยับขึ้นไปหน่อยที่ด่นแม่สอดจังหวัตาก กับเมืองเมยวดี  และเหนือสุดแห่งสยาม กับด่านท่าขี้เหล็กของพม่า ส่วนด่านสิงขร เพราะชื่อขึ้นต้นด้วยด่าน เช่นเดียวกับชื่อ ด้านซ้าย ด่านช้าง ด่านขุนทด ด่านเจดีย์สามองค์ นเกวียน เป็นต้น ผู้คนเลยเข้าใจว่าเป็นด่าน หากเราเดินเข้าไปในช่องด่านสิงขร ( หากไม่ถูกจับเสียกอน ) เราจะเดินทางด้วยรถยนต์กับระยะทางไม่เกิน ๑๐๐ กิโลเมตร เราจะไปถึงเมืองมะริด ( Myeik ) ติดทะเวเบงกอล ( Bay of Bengal ) ผมคิดเห็นแก่ตัวแบบคนชอบเที่ยวว่าหากด่านเปิดเราคงมีโอกาสไปเที่ยวถึงเมืองมะริด ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากมาก เพราะการปกครองของพม่า เป็น ๗ รัฐ ชิน, ขะฉิ่น, กะเหรี่ยง , มอญ , ยะไข่หรืออารกัน , และฉาน กับ ๗ เขตการปกครอง มี อิระวดี , หงสาวดี , มะแกว , มัณฑะเลย์ , สะกาย , ย่างกุ้ง  และตะนาวศรี ที่ติดกับด่านสิงขรนี่แหละ การปิดประเทศหรือการที่ทำให้ประเทศเปิดยากมันจะเป็นผลดีแห่งการรักษาศิลปะ และวัฒนธรรมให้ดีและคงอยู่อย่างยั่งยืน วันนี้เรายังเห็นคนหนุ่มพม่ายังกินหมากนุ่งโสร่ง ส่วนผู้หญิงก็นุ่งผ้าซิ่น ประเทืองผิวด้วยทานาคา ลองคิดดูหากประเทศพม่าเปิดเสรีอย่างไทย ป่านนี้หนุ่มพม่าโยนโสร่งทิ้ง ไปเล่นกางเกงยีนส์ ส่วนมาดามพม่าก็โยนกระปุกทานาคาทิ้งเล่นไปอินเทรนส์กับเครื่องประเทืองผิวแบบเกาหลีที่ว่านั้นแล้วครับ